บริษัท ซิโนแวค ไบโอเทค บริษัทเวชภัณฑ์จากประเทศจีน และเป็นผู้ผลิตวัคซีนโคโรนาไวรัส มีการออกมาพูดถึงประเด็น ที่ว่า เพราะเหตุใด วัคซีนที่ใช้ป้องกันโควิด 19 ที่ทำการทดสอบ ในระยะที่ 3 ในตุรกี อินโดนีเซีย และบราซิล จึงได้มีประสิทธิภาพ ไม่ตรงกัน โดยก่อนหน้านี้ สถาบันชีวการแพทย์บูตันตัน ของบราซิล มีการแถลงว่า วัคซีนที่มาจากบริษัทซิโนแวค ไบโอเทค มีประสิทธิภาพอยู่ที่ 50.4 เปอร์เซ็นต์ เกินมาตรฐานการอนุมัติวัคซีนมาเพียง 0.4 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น
ประสิทธิภาพต่างกัน
เลยผลดังกล่าว ไม่ตรงกับรายงานประสิทธิภาพวัคซีน ที่ได้จากประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งประกาศว่ามีประสิทธิภาพ ประมาณ 65 เปอร์เซ็นต์ สวนในประเทศตุรกี มีประสิทธิภาพถึง 90% บริษัท ซิโนแวค ไบโอเทค ได้อธิบายในข้อนี้ว่า ” ประสิทธิภาพของวัคซีนนั้น ขึ้นอยู่กับระยะเวลา ในการขี่ระหว่างโดสแรกกับโดสที่ 2 หากมีการเว้นระยะเวลาที่เหมาะสม ระหว่างการให้วัคซีนเข็มแรกกับเข็มที่ 2 วัคซีนจะมีประสิทธิภาพ มากยิ่งขึ้น “
ซิโนแวค ได้ใช้อาสาสมัครทั้งหมด 13,000 คน และมีจำนวนอาสาสมัคร 1,400 คน ที่ทำการทดลองวัคซีนกับบริษัท โดยได้รับวัคซีน 2 โดสในระยะห่างกัน 3 สัปดาห์ แต่การทดสอบที่ประเทศบราซิล อาสาสมัครได้รับวัคซีน 2 เข็ม ห่างกันเพียง 2 สัปดาห์ ดังนั้นผลที่ออกมาจึงมีประสิทธิภาพอยู่ที่ประมาณ 50.4 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น
บริษัทผลิตวัคซีน covid 19 มีการชี้แจงเพิ่มเติมอีกว่า อาสาสมัครที่เข้าร่วมโครงการในประเทศบราซิลส่วนใหญ่เป็นบุคลากรทางการแพทย์ ซึ่งมีความเสี่ยงสูง ด้วยเหตุผลนี้ จึงเป็นตัวแปรสำคัญ ที่ทำให้ผลของประสิทธิภาพวัคซีน มีอะไรดับต่ำกว่าการทดสอบ ในประเทศอื่นอย่างอินโดนีเซียหรือตุรกี
บริษัท ซิโนแวค ไบโอเทค ยังได้กล่าวอีกว่า ผลการทดสอบในบุคลากรทางการแพทย์ของประเทศบราซิล จะมีอัตราเพิ่มขึ้นอีกประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์ หากมีการทิ้งระยะห่างในการฉีด ระหว่างเข็มที่ 1 กับเข็มที่ 2 ประมาณ 21 ถึง 28 วัน
ยังสรุปอะไรไม่ได้
แม้จะมีการออกมาชี้แจง ในเรื่องของประสิทธิภาพการทดสอบ วัคซีนต้าน โควิด 19 ในประเทศบราซิล เป็นที่เรียบร้อยแล้ว แต่ ยังไม่สามารถ สรุปผล ของประสิทธิภาพวัคซีน ที่ทำการทดสอบ ในประเทศอินโดนีเซียที่มีประสิทธิภาพ 65% ในประเทศตุรกี ที่มีประสิทธิภาพ ถึง 90% เนื่องจากมีอาสาสมัครในการทดสอบจำนวนน้อยเกินไปอีกด้วย
ประสิทธิภาพต้องมากกว่า 50%
ข้อกำหนด ในเรื่องประสิทธิภาพของวัคซีนต้าน โควิด 19 ขององค์การอนามัยโลก และสำนักงานอาหารและยาสหรัฐอเมริกา ได้ระบุว่า วัคซีนทุกชนิดที่ผลิตออกมา ต้องมีประสิทธิภาพไม่น้อยกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ จึงจะสามารถทำการอนุมัติให้ใช้ได้อย่างแพร่หลาย
แม้ว่าวัคซีนโควิด 19 จาก บริษัท ซิโนแวค ไบโอเทค ยังมีข้อมูลของประสิทธิภาพการ ใช้งาน ที่มีความสับสน แต่ทั้งประเทศอินโดนีเซียและประเทศบราซิล ได้มีการอนุมัติให้ใช้วัคซีนดังกล่าวเป็นที่เรียบร้อยแล้ว รวมไปถึง สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ ชิลี และประเทศไทย ได้มีการ จัดซื้อวัคซีนจาก บริษัท ซิโนแวค ไบโอเทค เพื่อมาแจกจ่ายให้กับ ผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงและประชาชนทั่วไปเป็นที่เรียบร้อยแล้วเช่นกัน